วันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนครั้งที่ 15

ครั้งที่ 15 วันที่ 8 มีนาคม 2555

ส่งงาน Big Book 
ส่งงานบัตรคำ
ใครที่ยังทำงานไม่เสร็จให้ทำต่อให้เสร็จภายในห้องเรียน

















บันทึกการเรียนครั้งที่ 14

วันพฤหัสบดีที่

อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอผลงานต่อจาจากอาทิตย์ที่แล้วการบ้าน
อาจารย์ให้ทำ Big Book หัวข้อ "มันคืออะไร"
ทำบัตรคำเกี่ยวกับ "ต. เต่า"
จับกลุ่ม4คนส่งในอาทิตย์ถัดไป

วันอังคารที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 13

วัน พฤหัสบดี  ที่ 23 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555  

  • อาจารย์ให้นำเสนอผลงาน ที่ไปทำสมุดภาพกับเด็กๆ โดยให้เด็กๆ ช่วยกันตัดสมุดภาพในหัวข้อ "เธอชอบกินผักอะไร" 
ข้อเสนอแนะของอาจารย์
  1. หน้าแรก ผ่าน
  2. หน้าที่ 2 อาจารย์แนะนำว่าภาพกับคำควรจะตรงกัน
  3. ตัวหนังสือที่เขียนเล็กเกินไป
  4. คำว่าผักยังไม่ต้องใส่ควรให้เด็กได้เติมเอง
  5. เส้นควรจะยาวอีกเพราะตัวหนังสือเขียนไม่พอ                                         

บันทึกการเข้าเรียนครั่งที่ 12


วัน เสาร์  ที่ 18 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555  (ชดเชย)
           - อาจารย์ให้วาดรูปคนละ 1 รูป แล้วเล่าเป็นเรื่องราวต่อกัน
           -อาจารย์ให้วาดรูปคนละ 1 รูป แทนคำ 1 ประโยคอะไรก็ได้ แล้วให้เพื่อนทาย
           -พูดชื่อตัวเองแล้วทำท่า พยางคืละ 1 ท่า  จากนั้นก็ทำท่าชื่อเพื่อนคนข้าง ๆ แล้ค่ยทำท่าตัวเอง
           - ครูอธิบายว่า สิ่งที่เรารู้แล้วแสดงออกมาให้เพื่อนรู้ว่าเราเข้าใจ
  *คือการเรียนรู้*
           - เรียนเรื่องรูปแบบของภาษา เสียงสระ เสียงพยัญชนะ

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11


วัน พฤหัสบดี ที่ 16 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
           - อาจารย์พูดถึงเรื่องการแต่งกาย แต่งให้ถูกระเบียบที่มหาลัยกำหนดไว้
           -อาจารย์เปิดดู Blogger เพื่อดูความคืบหน้า และใครขาดเหลืออะไรให้ไปแก้ไขปรับปรุงมาให้ดี
           -ทำหนังสืนิทาน กลุ่มละ 4 คน  

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 10


  วัน พฤหัสบดี ที่ 9 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

 *  ไม่มีเรียน  เนื่องจากเป็นวันกีฬาสีของสาขาการศึกษาปฐมวัย

                                                           
                     

วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9

วัน พฤหัสบดี ที่ 2 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

-ในวันนี้อาจารย์ได้ตกลงเรื่องการแต่งกายมาเรียน   โดยที่อาจารย์ได้พูดว่า  "เครื่องแบบไม่ได้ทำให้พัฒนาสมองให้ดีขึ้น  แต่เครื่องแบบเป็นการสท้อนถึงองค์กร
      -  อาจารย์เอารูปที่เด็กวาดด้วยคอมพิวเตอร์มาให้ดู  แล้วให้ดูว่า รูปนี้บอกอะไรกับเราได้บ้าง
                 1.  นึกถึงคำหรือภาษาที่เด็กใช้
                 2.  การวาดภาพเห็นถึงพัฒนาการทางกล้ามเนื้อมือ - ตา เพื่อเตรียมการเรียน
                 3.  ได้เห็นถึงความต้องการของเด็ก  เพื่อให้เชื่อมโยงกับสถานการณ์
                 4.  การเขียนตัวหนังสือ  สามารถเขียนมีหัวได้ถูกต้อง
                 5.  การเขียนชื่อตัวเองได้
                 6.  การสอนเรื่องการลงท้าย ครับ  ค่ะ

รูปเด็กอนุบาล 4 คน กำลังใช้ภาษาสื่อสารกัน
       -  มนุษย์ใช้การสื่อสารระหว่างกันด้วยวิธีการหลายรุปแบบ  วิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด  คือ การใช้ภาษาพุดและการเขียน  การพัฒนาทักษะการใช้ภาษาดังกล่าว  จะช่วยให้เด็กเข้าใจและเรียนรู้สิ่งต่างๆ ในสิ่งแวดล้อมได้ดีขึ้น  ตลอดจนการแสดงออกถึงความต้องการส่งและรับข่าวสาร  การแสดงออกถึงความรู้สึกและการเข้าใจผู้อื่น
      -  ฟังและพูด  โดยไม่ต้องอาศัยการสอนอย่างเป็นทางการ  การที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางภาษาจะทำให้เด็กเข้าใจ  และใช้ไวยากรณ์พื้นฐานของภาษาแม่  เมื่ออายุได้ 4 หรือ 5 ปี
      -  สิ่งที่ครูสอนเด็กปฐมวัยจะต้องตระหนัก  และมีความรู้เพื่อนำไปใช้ในการช่วยพัฒนาการทางภาษาของเด็ก  ก็คือ  ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษาทั้งในด้านภาษาศาสตร์  ด้านการนำไปใช้  ตลอดจนแนวปฏิบัติในการจัดประสบการณ์ทางภาาาให้แก่เด็ก

บลูและลาเฮย์  ให้ความหมายของภาษา  3  ประการ
         1.  ภาษาเป็นสัญลักษณ์หรือรหัส  "เด็ก กิน ขนม"
         2.  ภาษาเป็นสัญลักษณ์ของมโนมิติเกี่ยวกับโลก หรือ ประมวลประสบการณ์
         3.  ภาษาเป็นระบบ  ภาษาเป็นระบบกฎเกณฑ์ที่ค่อนข้างจะคงที่  เช่น  มีคำที่เป็นประธาน  กริยา  กรรม

กำชัย  ทองหล่อ  " ภาษาแปลตามรูปศัพท์ "
วิจินตน์  ภานุพงษ์  " เสียงที่มีระบบทำให้เราใช้สื่อสารกัน "

สรุป   ภาษา คือ  สัญลักษณ์ที่มนุษย์ในสังคมหนึ่งๆ  สร้างขึ้น  เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารและทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน



วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8

วันอาทิตย์ ที่ 22 มกราคม พ.ศ.2555

-วันนี้อจารย์ได้เปิดวีดีโอจากเวปไซต์โทรทัศน์ครูให้นักศึกษาดู  เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน(เรื่องหนูน้อยหมวกแดง)
การเล่านิทานเขาจะใช้เทคนิคในการเล่าโดยร้องเพลงะเป็นขั้นนำก่อนเล่านิทาน
และอาจารย์ได้พูดถึงกิจกรรมหลัก  และอาจารย์ได้ถามว่าเราจะบูรณาการออกแบบกิจกรรมได้อย่างไร?   กิจกรรมสร้างสรรค์ทำให้เด็กรู้จัก ตัวละคร ฉาก และรู้จักลำดับเหตุการณ์  บทบาทครูต้องสนับสนุนเด็กให้กำลังใจเด็กเสมอ
อาจารย์ได้ใให้นักศึกษาไปหาความหมาย
ฉันทะ  วิริยะ  จิตตะ  วิมังสา  คืออะไร
และ ให้วิเคราะห์การใช้วรรณกรรมเป็นฐาน
สมัครโทรทัศน์ครูแล้วลิงค์เรื่องที่เกี่ยวกับภาษาลงบล็อค

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7

วันพฤหัสบดี ที่ 19 มกราคม พ.ศ.2555

       วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากอาจารย์ติดประชุม  แล้วนัดนักศึกษาให้มาเรียนชดเชยในวันอาทิตย์ ที่ 22  มกราคม  2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6

วันพฤหัสบดี ที่ 12 มกราคม พ.ศ.2555

       วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษา Present Powerpoint เกี่ยวกับเรื่องที่ได้ไปเล่านิทานให้น้องฟังเป็นรายกลุ่ม โดยกลุ่ม ของดิฉันได้เล่านิทานเรื่อง

บันทึกการเรียนรูครั้งที่ 5

วันพฤหัสบดีที่ 4 มกราคม พ.ศ.2555
-วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาทำ Powerpoint  เกี่ยวกับนิทานที่นักศึกษาไปเล่าให้เด็กปฐมวัยฟังแล้วนำเสนอสัปดาห์ถัดไป

วิธีการเล่านิทานหรือเรื่องราวสำหรับเด็ก     เมื่อเลือกนิทานหรือเรื่องราวที่เหมาะสมกับวัยของเด็กได้แล้ว วิธีการเล่านิทานหรือเรื่องราว เพื่อให้เด็กเกิดความสนใจ ติดตามฟังเนื้อเรื่องจนจบ จำเป็นต้องทำให้เหมาะสมกับเรื่องที่จเล่าด้วย การเล่านิทานที่นิยมมี 2 วิธี ดังนี้
     1. การเล่าเรื่องปากเปล่า ไม่มีอุปกรณ์ : เป็นการเล่านิทานด้วยการบอกเล่าด้วยน้ำเสียงและลีลาของผู้เล่า ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
• การขึ้นต้นเรื่องที่จะเล่า ควรดึงดูดความสนใจเด็ก โดยค่อยเริ่มเล่าด้วยเสียงชัดเจน ลีลาของการเล่าช้าๆ และเริ่มเร็วขึ้น จนเป็นการเล่าด้วยจังหวะปกติ
• เสียงที่ใช้ควรดัง และเป็นประโยคสั้นๆได้ใจความ การเล่าดำเนินไปอย่างราบรื่น ไม่ควรเว้นจังหวะการเล่านิทานให้นาน จะทำให้เด็กเบื่อ อีกทั้งไม่ควรมีคำถาม หรือคำพูดอื่นๆที่เป็นการขัดจังหวะ ทำให้เด็กหมดสนุก
• การใช้น้ำเสียง สีหน้า ท่าทาง แสดงให้สอดคล้องกับลักษณะของตัวละคร ไม่ควรพูดเนือยๆ เรื่อยๆ เพราะทำให้ขาดความตื่นเต้น
• อุ้มเด็กวางบนตัก โอบกอดเด็กขณะเล่า หรือถ้าเล่าให้เด็กหลายคนฟัง อาจจะนั่งเก้าอี้ให้เหมาะสมกับสายตาเด็ก
• ใช้เวลาในการเล่าไม่ควรเกิน 15 นาที เพราะเด็กมีความสนใจในช่วงเวลาสั้น
• ให้โอกาสเด็กซักถาม แสดงความคิดเห็น
    2. การเล่าเรื่องโดยมีอุปกรณ์ช่วย เช่น สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กเช่น สัตว์ พืช , วัสดุเหลือใช้เช่น กล่องกระดาษ กิ่งไม้,ภาพ เช่นภาพพลิก หรือภาพแผ่นเดียว ,หุ่นจำลอง ทำเป็นละครหุ่นมือ, หน้ากากทำเป็นรูปละคร ,นิ้วมือประกอบการเล่าเรื่อง

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4

วัน พฤหัสบดี ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554
- อาจารย์ให้ส่งงานที่สั่งไว้เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แล้วให้แต่ละคนเขียนภาษาถิ่นของตัวเองส่ง  (ภาษาอิสาน) อาจารย์ปล่อยก่อนเวลาเพราะว่าอาจารย์ จะไปร่วมกิจกรรมงานปีใหม่ของน้องๆที่โรงเรียนสาธิตจันทรเกษม

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3

วันพฤหัสบดีที่ 22  ธันวาคม 2554


             -วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษารายงาน งานที่มอบหมายหน้าชั้นเรียนพร้อมเปิดวีดีโอ
และอาจารย์ได้อธิบายพัฒนาการและพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนที่นักศึกษาไปสัมภาษณ์มา
       - ในการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กสองภาษา ครูควรทำความเข้าใจว่าการเรียนรู้ภาษาที่หนึ่งและการเรียนรู้ภาษาที่สองมีความแตกต่างกัน การทำความเข้าใจดังกล่าวนำไปสู่การจัดประสบการณ์ทางภาษาอย่างเหมาะสมสำหรับเด็ก ทั้งนี้ ครูที่จัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยที่พูดภาษาถิ่นเป็นภาษาที่หนึ่ง และพูดภาษาไทยกลางเป็นภาษาที่สอง ควรเป็นผู้ที่มีความสามารถในการใช้ภาษาถิ่นและภาษาไทยกลางเป็นอย่างดี
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาที่มีความหลากหลายเอื้อต่อความต้องการของเด็ก ให้เด็กเรียนรู้การใช้ภาษาถิ่น และภาษาไทยกลางจากการเข้าไปมีส่วนร่วมในบริบททางสังคมและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษาด้วยตนเองตามสถานการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน และสถานการณ์ที่สร้างขึ้นเพื่อให้ครูและเด็กเรียนรู้และพัฒนาการใช้ภาษาของตนเองอย่างเป็นธรรมชาติ

ภาระงานที่ได้รับมอบหมาย
     -ให้ไปเล่านิทานให้เด็กฟังพร้องตั้งคำถามถามเด็ก3ข้อและบันทึกมาส่งอาจารย์
      -ให้หาประวัตินักการศึกษาที่เกี่ยวกับเรื่องของภาษาส่งสัปดาห์ถัดไป

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2

วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม 2554

 วันนี้อาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับรายละเอียดของ วิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย โดยมีสาระดังนี้
              การจัดประสบการณ์ คือ การจัดการเรียนการสอน โดยมีเวลาประมาณ 10-20 นาที/กิจกรรม ( กิจกรรมในที่นี้ใช้กับการจัดให้แก่เด็กปฐมวัย )
              เด็กปฐมวัยกับสิ่งที่ควรรู้
                   1.พัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามลำดับขั้น

      - ภาษา คือ การสื่อสารโดยผ่านกระบวนการ ฟัง พูด อ่าน เขียน แล้วสามารถเข้าใจกันและกันได้
      - การจัดประสบการณ์ทางภาษา คือ การเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่องโดยแสดงออกผ่านทางพฤติกรรมทั้ง 4 ด้าน
             วิธีการเรียนรู้ด้วยการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5  คือ                  การสังเกต-ตา      การสัมผัส-มือ      การฟัง-หู      การดมกลิ่น-จมูก       การลิ้มรส-ลิ้น และถ้าจะให้อิสระแก่เด็กต้องให้อิสะในการเลือก การตัดสินใจเอง และการลองผิดลองถูกโดยผ่านการเล่น เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
             การจัดประสบการณ์สามรถกระทำได้หลายรูปแบบ
               - เทคนิค เช่น การเล่านิทาน การใช้เพลง การใช้เกม การใช้บทบาทสมมุติ เป็นต้น
               - สื่อ
               - รูปแบบ
               - หลักการ
               - ขั้นตอน
               - วิธีการ
               - การประเมิน เช่น การสังเกตุ การจดบันทึก เป็นต้น
          
             สมอง
                   สมองรับข้อมูลได้โดยการผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 และเกิดการเรียนรู้ใหม่เพื่อความอยู่รอดในสังคม และสามารถพัฒนาความรู้ทางด้านสติปัญญาได้
             การปรับตัวและพัฒนาการของสมอง  สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ช่วงอายุ
                   1.ช่วงอายุระหว่างแรกเกิด-2 ปี  ช่วงนี้เป็นช่วงวัยแห่งการรับรู้
                   2.ช่วงอายุระหว่าง 2-4 ปี ช่วงนี้เป็นช่วงแห่งวัยที่เริ่มใช้ภาษา
                   3.ช่วงอายุระหว่าง 4-6 ปี ช่วงนี้เป็นช่วงวัยที่รู้จักการใช้คำพูด

ภาระงานที่ได้รับมอบหมาย
     - ให้นักศึกษาจับคู่และไปสัมภาษณ์เด็กพร้อมทั้งบันทึกวีดีโอ นำส่งในสัปดาห์ถัดไปพร้อมนำเสนองาน

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1

วัน พฤหัสบดี ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2554
วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากอาจารย์ติดประชุม   แต่ได้สนทนาพูดคุยเรื่องการทำ blogger และให้แบ่งกลุ่ม 4 คน หาดอกดาวเรืองมาจัดงานวันพ่อ 4 คน / 1 ต้น